ครอบครัวตำรวจทางหลวงขอนแก่นทุกคน ยินดีรับใช้ครับ


ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ด้วยการ ๑.ไม่ขับรถเร็วเกินกฏหมายกำหนด ๒.เมาไม่ขับ ๓. ก่อนขับร่างกายต้องพร้อม รถพร้อม


จุดให้บริการ ที่พักผ่อน ห้องน้ำ เครื่องดื่ม กาแฟ แก่ผู้เดินทาง หน่วยบริการบ้านไผ่ หน่วยบริการน้ำพอง หน่วยบริการหนองเรือ แวะใช้บริการได้ทุกเมื่อ หรือขอความช่วยเหลือ โทร.1193

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รถบรรทุกวัตถุอันตราย

0 comments
วัตถุอันตราย หมายถึง สาร สิ่งของ วัตถุหรือวัสดุ ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและวามปลอดภัยของคน สัตว์ ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ระหว่างทำการขนส่ง ซึ่งแยกเป็น 9 ประเภทดังนี้

ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด (Eplossives) หมายถึง ของแข็ง หรือหของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฎิกิริยาทางเคมีด้วยตนเอง ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดันและความร้องอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายบริเวณโดยรอบได้ และให้รวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิง และสิ่งของที่ระเบิดด้วย แยกเป็น 6 ประเภทย่อย คือ


1.1 สารหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากากรระเบิดรุนแรงทันทีทันใดทั้งหมด (Mass ezplosion)
1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากากระเบิดแตกกระจายแต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด
1.3 สารหรือสิ่งของที่ที่มีอันตรายต่อการเกิดเพลิงไหม้ และอาจมีอันตรายจากการระเบิด หรือการระเบิดแตกกระจายร่วม แต่ไม่ระเบิดทันทีทันใดทั้งหมด
1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่แสดงความเป็นอันตรายอย่างเด่นชัด หากเกิดการประทุหรือประทุในระหว่างการขนส่ง จะเกิดความเสียหายเฉพาะภาชนะบรรจ
1.5 สารทีที่มีความไวต่อการระเบิด แต่หากมีการระเบิดจะมีอันตรายจาการระเบิดทั้งหมด
1.6 สิ่งของที่ไวต่อการระเบิดน้อยมาก และไม่ระเบิดพร้อมกันทั้งหมด มีความเสี่ยงต่อการระเบิดอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในสิ่งของนั้น ๆ ไม่มีโอกาสที่จะเกิดการประทุหรือแผ่กระจายในทางทำการขนส่ง
ประเภทที่ 2 ก๊าซ (Gases) หมายถึง สารที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส มีความดันไอมากกว่า 300 กิโลปาสกาล ซึ่งได้แก่ ก๊าซอัด ก๊าซพิษ ก๊าซอยู่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำและให้รวมถึงก๊าซที่ละลายในสารภายใต้ความดันด้วย แยกเป็น 3 ประเภทย่อย คือ

2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammabel gases) หมายถึง ก๊าซที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และมีความดัน 101.3 กิดลปาสกาล สามารถติดไฟได้เมื่อสัมผสมกับอากาศ 13 เปอร์เซ็นต์หรือต่ำกว่าดดยปริมาตรหรรือมีช่วงกว้างที่สามารถติดไฟได้ 12 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปเมื่อผสมกับอากาศ โดยไม่คำนึงถึงความเข้มข้นต่ำสุดของการผสม
2.2 ก๊าซไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable , non-toxc gases) หมายถึง กา๊ซที่ขณะขนส่งมีความดันไม่น้อยกว่า 280 กิโลปาสกาลที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียล หรืออยู่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ
2.3 ก๊าซพิษ (Toxic gases) หมายถึง ก๊าซที่มีคุณสมบัติเป็นที่ทราบทั่วกันไป หรือได้มีการสรุปว่าเป็นพิษหรือกัดกร่อน หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) หมายถึง ของเหลว หรือของเหลวผสม หรือของเหลวที่มีสารแขวนลอยผสมซึ่งมีจุวาบไฟไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส กรณีทดสอบด้วยถ้วยปิด (close-cup test) หรือไม่เกิน 65.6 องศาเซลเซียส กรณีทดสอบด้วยถ้วยเปิด (close-cup test ) และให้รวมถึงของเหลวที่ขณะขนส่งถูกทำให้มีอุณหภูมิเท่ากับหรือมากกว่าจุดวาบไฟของเหลวนั้น และสารหรือสิ่งของที่ทำให้อุณหภูมิจนเป็นของเหลวขณะทำการขนส่ง ซึ่งเกิดไอระเหยไวไฟที่อุณหภูมิไม่มากกว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้ในการขนส่ง



ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง และสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Flammable Solids, Substances Liable to spontaneous combustion, Substances whice in contact with water emit flammable gases) แยกเป็นประเภทย่อย คือ
4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) หมายถึง ของแข็งที่ระหว่างทำการขนส่งสามารถที่จจะติดไฟได้ง่าย หรืออาจทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้จากการเสียดสี สารหรือสารที่เกี่ยวข้องที่มีนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนที่รุนแรง และให้รวมถึงวัตถุระเบิดที่ถูกลดความไวต่อการระเบิด ซึ่งอาจระเบิดได้ ถ้าหากไม่ทำให้เจือจางเพียงพอ
4.2 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances whice in contact with water emit flammable gases) หมายถึง สารที่ทำปฎิกิริยากับน้ำแล้วมีแนวโน้มที่จะเกิดการติดไฟได้เอง หรือทำให้เกิดก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย



ประเภทที่ 5 สารออกไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing substances and Organic peroxides) แยกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing substances) หมายถึง สารที่ตัวเองของารเองอาจไม่ติดไฟ โดยทั่วไปจะปล่อยออกซิเจนหรือเป็นเหตุหรือช่วยใ้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides) สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างออกซิเจน 2 อะตอม -O-O- และอาจถือได้ว่าเป็นสารที่อนุพันธ์ของ Hydrogen peroxide ซึ่งอะตอมของ Hydrogen 1 หรือทั้ง 2 อะตอม ถูกแทนที่ด้วย Oranic radicals สารนี้ไม่เสถียรความร้อนซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนและเร่งการแตกตัวด้วยตนเอง และอาจมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
ก. แนวโน้มที่จะระเบิดสลายตัว ข. เผาไหม้อย่างรวดเร็ว
ค. ไวต่อการกระแทกหรือการเสียดสี ง. ทำปฏิกิริยากับสารอื่นก่อให้เกิดอันตรายได้
จ. เป็นอันตรายต่อตา



ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and Infections sustances) แยกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
6.1 สารพิษ (Toxic sustances) หมายถึง สารที่มีแนวโน้มจะทำให้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บรุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากกลืนหรือสูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง
6.2 สารติดเชื้อ (Infections sustances ) หมายถึงสารที่ทราบว่าหรือคาดว่ามีเชื้อดรคปนอยู่ด้วย เชื้อโรค คือ จุลินทรีย์ (ซึ่งรวมถึง แบคทีเรีย ไวรัส Rickettsia พยาธิ เชื้อรา) หรือจุลินทรีย์ที่เกิดใหม่ หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งรู้กันโดยทั่วไปหรือมีข้อสรุปที่เชื่อถือได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดโรคต่อมนุษย์หรือสัตว์



ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive material) หมายถึง วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็น ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย การพิจารณาความเป็นอันตรายให้เป็นไปตามมารตราฐานและข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านการขนส่งสารกัมตรังสีของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างปรหะเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA)



ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน (Corrosive substances) หมายถึง สารซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง หรือกรณีของการรั่วจะเกิดความเสียหาย หรือทำลายสิ่งของอื่นหรือยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง หรือเกิดอันตรายอื่นได้ด้วย



ประเภทที่ 9 วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Misellaneous dangerous substances and articles) หมายถึง สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็นอันตราย ซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 และให้รวมถึงสารที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซียส ในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 240 องศาเซลเซียส ในสภาพของแข็ง

รถที่บรรทุกวัตถุอันตรายทั้ง 9 ประเภทนี้ ผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีป้ายที่แสดงตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องงหมายติดไว้ด้านท้ายรถและด้านข้างตัวรถทั้ง 2 ด้าน
ลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายดังกล่าว ที่ผู้รถที่ใช้ในการขนส่งต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดที่ 4 มีดังนี้
1. รถบรรทุกวัตถุอันตราย (รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ลักษณะ 4 ) ที่ถังบรรทุกมีความจุเกินกว่า 1,000 ลิตร
2. รถพ่วงและรถกึ่งพ่วง (รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ลักษณะ 6 และลักษณะ 7) ที่ถังที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะวัตถุอันตราย มีความจุเกินกว่า 1,000 ลิตร
และรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ลักษณะอื่น ที่มีลักษณะการบรรทุกโดยนำไปไช้ในการบรรทุกวัตถุอันตราย ดังนี้
1. วัตถุอันตรายประเภทที่ 1 (วัตถุระเบิด) ประเภทที่ 6 (สารพิษและสารติดเชื้อ) และประเภทที่ 7 (วัตถุกัมมันตรังสี)
2. วัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซหรือก๊าซเหลวบรรจุในภาชนะโดยมีปริมาณรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร
3. วัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวที่บรรจุในภาชนะ โดยมีปริมมาณรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือเป็นขอิงแข็งที่มีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า 1,000 กิโลกรัม หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือเกินกว่า 1,000 กิโลกรัม อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งนั้ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่
1. รถที่ใช้ในการบรรทุกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ ที่มีภาชนะบรรจุเครื่องดื่มในแต่ภาชนะมีปริมาตรไม่เกิน 250 ลิตร
2. รถที่ใช้ลากจูงที่รถบรรทถุกวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ ในกรณีที่รถบรรทุกวัตถุอันตรายนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเกิดอุบัติเหตุ
3. รถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตรายอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้รับยกเว้นตามเอกสารคำแนะนำของสหประชาชาติ ว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย (UN Recommemdations on the Transport of Dangerous Gooods) ที่ได้รับความเห็นชอบจากรมการขนส่งทางบก
หากผู้ประกอบการขนส่งวัตถุอันตราย มีข้อสังสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย โทร 272-5312
ข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

0 comments:

แสดงความคิดเห็น